การบริหารคอ-ไหล่ให้คลายตึง
คนรุ่นใหม่มีความเสี่ยงที่จะต้องทำงานประเภท "ก้มๆ เงยๆ" มากขึ้น การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน การก้มหน้าเล่นสมาร์ทโฟน การนั่งทำงานผิดท่า เก้าอี้นั่งที่มีระดับไม่เหมาะสม การก้มๆเงยๆพิมพ์งานวันละนานๆ มีส่วนทำให้เสี่ยงต่ออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ หรือบางทีอาจจะปวดหัวได้ จนมีอาการ"ออฟฟิศซินโดรม"
ความแข็งแรงของคอคนเราต้องอาศัยกระดูกที่แข็งแรง ซึ่งเปรียบเสมือนเสาวิทยุที่อยู่ตรงกลาง ด้านรอบกระดูกมีกล้ามเนื้อและเอ็นสำคัญๆ พยุงอยู่ 4 ด้าน เปรียบคล้ายลวดสลิงที่ขึงอยู่รอบๆ เสาวิทยุ
การที่คอคนเราจะแข็งแรงได้จึงต้องอาศัยทั้งกระดูก และโครงสร้าง (กล้ามเนื้อและเอ็น) 4 ทิศทางช่วยพยุงไว้ได้แก่ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านขวา
ความแข็งแรงของคอคนเราต้องอาศัยกระดูกที่แข็งแรง ซึ่งเปรียบเสมือนเสาวิทยุที่อยู่ตรงกลาง ด้านรอบกระดูกมีกล้ามเนื้อและเอ็นสำคัญๆ พยุงอยู่ 4 ด้าน เปรียบคล้ายลวดสลิงที่ขึงอยู่รอบๆ เสาวิทยุ
การที่คอคนเราจะแข็งแรงได้จึงต้องอาศัยทั้งกระดูก และโครงสร้าง (กล้ามเนื้อและเอ็น) 4 ทิศทางช่วยพยุงไว้ได้แก่ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านขวา
ภาพกระดูกสันหลังส่วนคอ > [ Wikipedia ]
- ส่วนสีเขียวเป็นหมอนรองกระดูกสันหลังที่บอบบาง และอาจจะแตกหรือปลิ้นได้ โดยเฉพาะกระดูกสันหลังส่วนเอว
- ส่วนสีน้ำตาลอ่อนเป็นกระดูกสันหลัง
- ส่วนสีม่วงเป็นเส้นประสาทไขสันหลังที่อาจถูกส่วนของกระดูกเสื่อมที่ยื่นออกมาคล้ายหนามกด หรือส่วนของหมอนรองกระดูกสันหลังที่แตกหรือปลิ้นออกกดได้
- คอของเราประกอบด้วยกระดูกคอ (cervical spine) ทั้งหมด 7 ข้อ หรือที่เรียกว่ากระดูก c1-c7 ระหว่างกระดูกแต่ละข้อมีแผ่นกระดูกอ่อนหรือที่เรียกว่าหมอนรองกระดูกคั่นกลางทำหน้าที่ป้องกันการเสียดสีและเป็นเสมือนโช๊คอัพเพื่อดูดซับและกระจายแรงอัด ส่วนกระดูกที่เราคลำได้เป็นตุ่มๆ ที่อยู่
- ด้านหลังของคอนั้นเป็นกระดูกที่ยื่นออกจากส่วนหลังของกระดูกคอ ตรงกลางของกระดูกนี้มีลักษณะเป็นรูให้ประสาทไขสันหลังและหลอดเลือดสอดผ่าน ระหว่างรอยต่อของกระดูกคอแต่ละข้อจะมีช่องว่างให้รากประสาทงอกออกมา เพื่อนำคำสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อที่ไหล่ แขนและมือ และรับความรู้สึกส่วนต่างๆ กลับไปยังสมอง
- กระดูกคอมีขนาดเล็กแต่ต้องแบกรับน้ำหนักของศีรษะที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา จึงเกิดความบอบช้ำบาดเจ็บได้ง่ายและเสื่อมได้เร็วกว่า ส่งผลกระทบต่อเส้นประสาท หลอดเลือดและไขสันหลังที่อยู่บริเวณเดียวกัน ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ไหล่และสะบัก ปวดร้าวและชาที่แขนและมือ พร้อมทั้งอาการอื่นๆ ที่สลับซับซ้อน จนบางครั้งนึกไม่ถึงว่าการเจ็บปวดทรมานนี้มาจากกระดูกคอเรานี่เอง
อาการเหล่านี้เราสามารถทำได้โดยไม่ต้องลุกไปไหน แค่นั่งยืดเส้นยืดสายที่โต๊ะครู่เดียวก็ช่วยให้อาการปวดบรรเทาลง โดยการบริหารกล้ามเนื้อและเอ็นที่พยุงลำคอ ก็พร้อมจะทำงานต่อได้แบบไร้กังวล เป็นการชะลอความเสื่อมและบรรเทาอาการได้ การบริหารเบื้องต้นแบบง่ายๆมี 3 แบบคือ
- การบริหารประเภท "ยืด-เหยียด (stretching exercise)" เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและยืดเส้นให้คลายตึง การยืดเหยียดหรือยืดเส้น (stretching exercise) 4 ทิศ (หน้า-หลัง-ซ้าย-ขวา)..ทุกท่าให้ทำช้าๆ ทำแล้วค้างไว้ประมาณ 20 วินาที หรือนับ 1-20 ช้าๆ ขากลับก็ให้เคลื่อนลำคอกลับช้าๆ การรักษาสุขภาพนั้นอาศัยความอ่อนนุ่ม ทะนุถนอม ไม่ใช้ความรุนแรง
- การบริหารแบบแอโรบิค (aerobic exercise) เพื่อสร้างความแข็งแรงพื้นฐาน เช่น เดิน เดินเร็ว เดินขึ้นลงบันไดตามโอกาส วิ่งเหยาะ(จอกกิ้ง) ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ ฯลฯ ต้องให้พยายามรักษา "คอ" ไว้ให้ตรง จึงจะได้ผลในการป้องกันอาการปวดคอได้ดีที่สุด
- การบริหารเพื่อสร้างความแข็งแรง (strengthening exercise) ช่วยให้โครงสร้างแข็งแรง โดยการบริหารแบบใช้แรงต้าน เนื่องจากถ้าโครงสร้างที่พยุงหรือเจ้าลวดสลิง (กล้ามเนื้อและเอ็นลำคอ)แข็งแรง โครงสร้างหลักหรือเจ้าเสาวิทยุ (กระดูกคอ) ก็จะพลอยแข็งแรงมั่นคงไปด้วย
ปัญหาที่พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิศ คือ ปัญหาด้านสายตา อาทิ ตาแห้ง น้ำตาไหลระคายเคืองตา ตามัว ปรับภาพได้ช้าลงซึ่งเกิดจากการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ทำให้การกระพริบตาน้อยละหนังตาเปิดกว้างขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้ง ส่งผลให้น้ำตาระเหยมากจนกระทั่งเกิดความระคายเคืองตาและตาแห้ง นอกจากนี้การเพ่งสายตาที่หน้าจอยังทำให้ต้องกลอกตาไปมาตลอดเวลาส่งผลให้ กล้ามเนื้อตาต้องทำงานมากขึ้น ทำให้ปวดตาและมีอาการเพลียตาในที่สุด
ผู้ที่ไปโรงพยาบาลด้วยอาการเพลียตาหรือตาล้า เกือบทุกคนะมีอาการปวดบ่าร่วมด้วยทั้งสิ้น จริงๆแล้วไม่ใช่ปวดเฉพาะที่บ่า แต่เป็นอาการปวดเมื่อยในบริเวณกว้างตั้งแต่ช่วงคอจนลงมาถึงไหล่ต่างหาก
ผู้ที่ไปโรงพยาบาลด้วยอาการเพลียตาหรือตาล้า เกือบทุกคนะมีอาการปวดบ่าร่วมด้วยทั้งสิ้น จริงๆแล้วไม่ใช่ปวดเฉพาะที่บ่า แต่เป็นอาการปวดเมื่อยในบริเวณกว้างตั้งแต่ช่วงคอจนลงมาถึงไหล่ต่างหาก
เผยแพร่ข้อมูลและสนับสนุนโดย : ENBOOST เอนไซม์สมุนไพรบำรุงสมองและสายตา... 2 ใน 1 เดียว ”ฟื้นฟูความจำ เพิ่มกำลังสมอง ถนอมดวงตา” มีส่วนผสมของเอนไซม์..สมุนไพรและพฤกษเคมีจากธรรมชาติ
สารพฤกษเคมี (Phytochemicals) คือ สารเคมีตามธรรมชาติที่พบในพืช เป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงสุขภาพ ( เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันโรคต่างๆ ในคน เช่น โรคหัวใจ, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, กระดูกพรุน, โรคปอด ไปจนถึงโรคมะเร็ง กลไกการทำงานของสารพฤกษเคมี ช่วยให้เอนไซม์บางกลุ่มทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งวิตามิน,กรดอะมิโน,สารสกัดที่มีความเข้มข้นและมีประสิทธิภาพต่อสมองและสายตา ให้ผลสูงสุด เห็นผลเร็ว และ ผลจะคงอยู่ได้ยาวนาน คือ ส่งเสริมการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมอง ให้ออกซิเจนแก่สมอง ช่วยการทำงานของสารสื่อประสาท ช่วยเร่งการซ่อมแซมสมอง ช่วยเรื่องความจำ สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ สายตาและการได้ยิน เพื่อบำรุงสมองและสายตา
สนใจติดต่อ..
Call center : โทร. 088-536-2211 088-536-3322 088-536-4433 02-444-6544
ID line : Enzyme.co.th
Follow LINE Official ID @jqk0152o : https://bit.ly/2KuayDT
Follow Fanpage Biowist.co.th : https://bit.ly/2w61GRN
Follow Instagram enzymebiowist : https://bit.ly/2Ig6qcm
สารพฤกษเคมี (Phytochemicals) คือ สารเคมีตามธรรมชาติที่พบในพืช เป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงสุขภาพ ( เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันโรคต่างๆ ในคน เช่น โรคหัวใจ, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, กระดูกพรุน, โรคปอด ไปจนถึงโรคมะเร็ง กลไกการทำงานของสารพฤกษเคมี ช่วยให้เอนไซม์บางกลุ่มทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งวิตามิน,กรดอะมิโน,สารสกัดที่มีความเข้มข้นและมีประสิทธิภาพต่อสมองและสายตา ให้ผลสูงสุด เห็นผลเร็ว และ ผลจะคงอยู่ได้ยาวนาน คือ ส่งเสริมการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมอง ให้ออกซิเจนแก่สมอง ช่วยการทำงานของสารสื่อประสาท ช่วยเร่งการซ่อมแซมสมอง ช่วยเรื่องความจำ สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ สายตาและการได้ยิน เพื่อบำรุงสมองและสายตา
สนใจติดต่อ..
Call center : โทร. 088-536-2211 088-536-3322 088-536-4433 02-444-6544
ID line : Enzyme.co.th
Follow LINE Official ID @jqk0152o : https://bit.ly/2KuayDT
Follow Fanpage Biowist.co.th : https://bit.ly/2w61GRN
Follow Instagram enzymebiowist : https://bit.ly/2Ig6qcm